วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

  ยุคของไดโนเสาร์





ไดโนเสาร์ (อังกฤษDinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิก เป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก
ประวัติการค้นพบ
มนุษย์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์มาเป็นเวลานับพันปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเศษซากเหล่านี้เป็นของสัตว์ชนิดใด และพากันคาดเดาไปต่าง ๆ นานา ชาวจีนมีความคิดว่านี่คือกระดูกของมังกร ขณะที่ชาวยุโรปเชื่อว่านี่เป็นสิ่งหลงเหลือของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ จนกระทั่งเมื่อมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปี ค.ศ. 1822 โดย กิเดียน แมนเทล นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ไดโนเสาร์ชนิดแรกของโลกจึงได้ถูกตั้งชื่อขึ้นว่า อิกัวโนดอน เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์นี้มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับโครงกระดูกของตัวอิกัวนาในปัจจุบัน
สองปีต่อมา วิลเลียม บักแลนด์ (William Buckland) ศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยา ประจำมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ก็ได้เป็นคนแรกที่ตีพิมพ์ข้อเขียนอธิบายเกี่ยวกับไดโนเสาร์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ โดยเป็นไดโนเสาร์ชนิด เมกะโลซอรัส บักแลนดี (Megalosaurus bucklandii) และการศึกษาซากดึกดำบรรรพ์ของสัตว์พวกกิ้งก่า ขนาดใหญ่นี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งในยุโรปและอเมริกา
จากนั้นในปี ค.ศ. 1842 เซอร์ ริชาร์ด โอเวน เห็นว่าซากดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบมีลักษณะหลายอย่างร่วมกัน จึงได้บัญญัติคำว่า ไดโนเสาร์[1] เพื่อจัดให้สัตว์เหล่านี้อยู่ในกลุ่มอนุกรมวิธานเดียวกัน นอกจากนี้ เซอร์ริชาร์ด โอเวน ยังได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ขึ้น ที่เซาท์เคนซิงตัน กรุงลอนดอน เพื่อแสดงซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ รวมทั้งหลักฐานทางธรณีวิทยาและชีววิทยาอื่น ๆ ที่ถูกค้นพบ โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซกซ์-โคเบิร์ก-โกทา (Prince Albert of Saxe-Coburg-Gotha) พระสวามีของสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร
จากนั้นมา ก็ได้มีการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในทุกทวีปทั่วโลก (รวมทั้งทวีปแอนตาร์กติกา) ทุกวันนี้มีคณะสำรวจซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อยู่มากมาย ทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ประมาณว่ามีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้นหนึ่งชนิดในทุกสัปดาห์ โดยทำเลทองในตอนนี้อยู่ที่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศอาร์เจนตินา และประเทศจีน

ลักษณะทางชีววิทยา

ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ซึ่งพวกมันมีผิวหนังที่ปกคลุมเป็นเกล็ดเช่นเดียวกับ งู จระเข้ หรือ เต่า กระเพาะอาหารของไดโนเสาร์กินพืช มักมีขนาดใหญ่แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากเซลลูโลสของพืชทำให้บางครั้งมันจึงต้องกลืนก้อนหินไปช่วยย่อย ส่วนไดโนเสาร์กินเนื้อจะย่อยอาหาร ได้เร็วกว่า แต่กระนั้น ข้อมุลของไดโนเสาร์ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก เนื่องจากไดโนเสาร์สูญพันธ์ไปหมดเหลือเพียงซากดึกดำบรรพ์ ดังนั้น นักบรรพชีวินวิทยาจึงต้องใช้ซากฟอสซิลนี้ในการสันนิษฐานของ ข้อมูลต่างๆ พฤติกรรม การล่าเหยื่อ และการดำรงชีวิตของไดโนเสาร์ขึ้นมาซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงเท่าไรนัก

วิวัฒนาการ




บรรพบุรุษของไดโนเสาร์คือ อาร์โคซอร์ (archosaur) ซึ่งไดโนเสาร์เริ่มแยกตัวออกมาจากอาร์โคซอร์ในยุค ไทรแอสซิก ไดโนเสาร์ชนิดแรกถือกำเนิดขึ้นราวๆ 230 ล้านปีที่แล้ว หรือ 20 ล้านปี หลังจากเกิดการสูญพันธุ์เพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (Permian-Triassic extinction event|Permian-Triassic extinction) ซึ่งคร่าชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสมัยนั้นไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์

สายพันธุ์ไดโนเสาร์แพร่กระจายอย่างรวดเร็วหลังยุคไทรแอสซิก กล่าวได้ว่าในยุคทองของไดโนเสาร์ (ยุคจูแรสซิก และยุคครีเทเชียส) ทุกสิ่งมีชีวิตบนพื้นพิภพที่มีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งเมตรคือไดโนเสาร์
จนกระทั่งเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การการสูญพันธุ์ครีเทเชียส-เทอร์เทียรี (Cretaceous-Tertiary extinction) ก็ได้กวาดล้างไดโนเสาร์จนสูญพันธุ์ เหลือเพียงไดโนเสาร์บางสายพันธุ์ที่เป็นบรรพบุรุษของนกในปัจจุบัน ยุคต่างๆของไดโนเสาร์
มหายุค เมโสโซอิค (Mesaozoic Era) 65-225 ล้านปี ในยุคนี้มี 3 ยุค คือ ยุค ไตรแอสสิก ยุคจูราสสิก ยุคครีเตเซียส และยุคซีโนโซอิกในยุคไตรแอสสิกนี้ สภาพอากาศในขณะนั้นจะมี สภาพร้อนและแล้งมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้ต้นไม้ใหญ่น้อยในเขตร้อนสามารถเจริญเติบโตได้ ดีมาก จนกระทั่ง "ไดโนเสาร์ ตัวแรก"ได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ ไดโนเสาร์กลุ่มแรกที่ได้กำเนิด ขึ้นมาจะมีขนาดเล็กเดิน 2 เท้า และมีลักษณะพิเศษ คือ เท้ามีลักษณะคล้ายกับเท้าของนก ต่อมา ในยุคจูราสสิกนี้ จัดว่าเป็นยุคที่เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก บรรดาพืชพรรณธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ไดโนเสาร์จำนวนมากขยายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีร่างกายใหญ่โต ซึ่งส่วนใหญ่จะกินพืช เป็นอาหาร และยุคนี้ยังได้ ถือกำเนิด นก ขึ้นมาเป็นครั้งแรกอีกด้วย ต่อมาในยุคครีเตเชียสนี้ จัดว่า เป็นยุคที่ไดโนเสาร์นั้นรุ่งเรื่องที่สุด เพราะยุคนี้ไดโนเสาร์ ได้มีการพัฒนาพันธุ์ออกมาอย่างมากมาย

ยุคของไดโนเสาร์


ยุคไทรแอสสิก

การครอบ ครองโลกของไดโนเสาร์ในยุคนี้โลกถูกปกคลุมด้วยป่าไม้จำนวนมาก พืชตระกูลที่ใช้สปอร์ในการขยายพันธ์ประสบความสำเร็จและมีวิวัฒนาการถึงขั้นสูงสุด ในป่ายุคไตรแอสสิกช่วงแรกนั้นมีสัตว์ใหญ่ไม่มากนักสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดคือแมลงปอยักษ์ที่ปีกกว้างถึง2ฟุตและได้ชื่อว่าเป็นนักล่าเวหาเพียงชนิดเดียวของยุคนี้ เนื่องจากในช่วงปลายของยุคเปอร์เมียนเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตทำให้พวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมาก สูญพันธุ์ไปพวกที่เหลือได้สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงต้นยุคไตรแอสสิกในกลุ่มสัตว์เหล่านี้เจ้าซินนอกนาตัสเป็นสัตว์นักล่าที่น่าเกรงขามที่สุด ในหมู่พวกมันและในช่วงนี้เองไดโนเสาร์ก็ถือกำเนิดขึ้นโดยพวกมันวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานที่เดินด้วยขาหลังอย่างเจ้าธีโคดอนซึ่งถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์ การสูญพันธ์ครั้งใหญ่ในยุคเปอร์เมียนทำให้พวกมันสามารถขยายเผ่าพันธุ์ได้อย่างมากมายในช่วงต้นยุคไตรแอสสิกและกลายมาเป็นคู่แข่งของพวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมที่เหลือ ไดโนเสาร์ในยุคแรกเป็นพวกเดินสองขา เช่น พลาทีโอซอร์ ไดโนเสาร์กินพืชคอยาวที่เป็นบรรพบุรุษของพวก ซอโรพอด หรือเจ้าซีโลไฟซิส บรรพบุรุษของพวกกินเนื้อ นักล่าสองขาความสูง 1 เมตร การที่มันสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยสองขาหลังทำให้พวกมันมีความคล่องตัวในการล่าสูงกว่า ซินนอกนาตัส หรืออีรีโทรซูคัสที่ยาวถึง 15 ฟุตซึ่งมีกรามขนาด ใหญ่และแข็งแรงนักล่าเหล่านี้ได้เปรียบซินนอกนาตัสและสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆทำให้พวกนี้ต้องวิวัฒนาการให้มีขนาดเล็กลงเพื่อที่จะหลบหนีพวกไดโนเสาร์ และหลีกทางให้เผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ก้าวมาครองโลกนี้แทนในที่สุด
ยุคจูราสสิก
  • ไดโนเสาร์ครอบครองโลกได้สำเร็จในตอนปลายยุคไตรแอสสิก จนเมื่อเข้าถึงยุคจูราสสิกพวกมันก็ขยายเผ่าพันธุ์ไปทั่วโลกในยุคนี้ผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยพืชขนาดยักษ์จำพวกสนและเฟิร์นอย่างไรก็ตามได้เริ่มมีพืชดอกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงกลางของยุคนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มของการขยายพันธุ์รูปแบบใ หม่ของพวกพืชในยุคจูราสสิกนับได้ว่าเป็นยุคที่พวกไดโนเสาร์คอยาวตระกูลซอโรพอด(Sauropod)ขยายเผ่าพันธุ์อย่างกว้างขวางพวกมันเป็นไดโนเสาร์ ขนาดยักษ์สายพันธุ์ที่รู้จักกันดีก็คือ แบรกคิโอซอรัส (Brachiosaurus) ดิปโพลโดคัส (Diplodocus) และอะแพทโตซอรัส(Apatosaurus)หรืออีกชื่อคือบรอนโตซอรัสนอกจากนี้ยังมีชนิดอื่นๆอีกมากมายสัตว์ยักษ์เหล่านี้ครั้งหนึ่งถูกมองว่า เป็นสัตว์ที่โง่และไม่อาจป้องกันตัวจากสัตว์นักล่าได้ทว่าในปัจจุบันนักโบราณคดีชีววิทยา (paleontology)เชื่อว่าพวกมันใช้หางที่หนาหนักศัตรูที่มาจู่โจมซึ่งนับว่าเป็นการตอบโต้ที่น่ายำเกรงไม่น้อยและเพราะหางที่ยาว และมีน้ำหนักมากนี่เองที่ทำให้พวกมันต้อง มีคอยาวเพื่อสร้างสมดุล ของสรีระของมัน

ยุคครีเตเซียส
ยุคครีเตเชียสเป็นยุคที่ต่อจากยุคจูแรสสิกสัตว์เลื้อยคลานเจริญมากในยุคนี้ ที่ประเทศอเมริกาก็มีการค้นพบสัตว์ทะเลที่เคยอาศัยอยุ่ในช่วงเดียวกันกับไดโนเสาร์ได้แก่ พวกพลีสิโอซอร์เช่น อีลาสโมซอรัส พวกกิ้งก่าทะเลโมซาซอร์อย่างไฮโนซอรัส และอาเครอนเป็นพวกเต่าอาศัยอยู่ในทะเล บนท้องฟ้าก็มีเคอาร์โคโทรุสซึ่งมีขนาดปีกยาวถึง 15 เมตร บินอยู่มากมายยุคนี้เป็นยุคที่ไดโนเสาร์มีการพัฒนาตัวเองอย่างมาก พวกซอริสเชียนที่กินเนื้อมีตัวขนาดใหญ่ได้แก่ อัลเบอร์โตซอรัส ไทรันโนซอรัสปรากฏในยุคนี้มีลักษณะดังนี้ไทรันโนซอรัสนั้นมีเล็บที่ขาหลังใหญ่โตและมีฟันแหลมยาวประมาณ 13 เซนติเมตร เพื่อใช้จับเหยื่อพวกซอริสเชียนที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารก็ได้แก่ ออนิโตมิมัสพวกออร์นิธิสเชียนมักจะเป็นพวกกินพืชพวกที่ถูกค้นพบครั้งแรกก็ได้แก่ อิกัวโนดอน แล้วก็พบ ฮิพุชิโรโฟดอน และ ฮาโดโรซอรัส พวกออร์นิธิสเชียน ได้แก่ ไทรเซอราทอปส์ แองคิโลซอรัส พบเจริญอยู่มากมาย แต่ว่าก่อนจะหมดยุคครีเตเชียส นั้นอากาศก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไดโนเสาร์บางพวกเริ่มตายลงและสูญพันธุ์หลังจากไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีบทบาทขึ้นมาบนโลก




 การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์

 สาเหตุของการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ได้มีการนำเสนอกันมาหลายปีแล้ว จากทฤษฏีซึ่งได้เคยมีผู้เสนอจำนวนมาก มีคนนับได้ถึง 95 ทฤษฏีที่ต่างกัน ตั้งแต่ความคิดที่ว่าพระเจ้ากลับลงมาในโลกและทำลายล้างด้วยปืนรังสี จนถึงความคิดว่ามันตายเนื่องจากท้องผูกหรือท้องเสีย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพืชที่เป็นอาหารในยุคนั้น แต่มาถึงปัจจุบันนี้ได้ยอมรับความคิดของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย รวมกันเหลือเป็นเพียง 2 ทฤษฏี คือ 


 ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการสูญพันธุ์ 
              
 ทฤษฏีแรกเป็นทฤษฏีของจักรวาลซึ่งให้ความเห็นว่ามีบางอย่างจากนอกโลกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิตบนโลก เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว สิ่งที่กล่าวขวัญกันถึงมากเป็นพิเศษ คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยอุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงมาในโลก ซึ่งผลของการตกทำให้โลกเกิดความเสียหาย ส่งผลให้เกิดฝุ่นและไอน้ำจำนวนมาก กระจายขึ้นสู่บรรยากาศบดบังแสงอาทิตย์ เป็นเวลาแรมเดือน หรือแรมปี ยังผลให้โลกเกิดเย็นลงและมืด เป็นสาเหตุที่ฆ่าสัตว์และพืชรวมทั้งไดโนเสาร์






ทฤษฏีที่สอง

 มาจากความรู้ที่ว่า ทวีปต่าง ๆ บนโลกมีการเคลื่อนไหวจากกระบวนการที่รู้จักกันในนาม ทวีปจร (Continental Drift) และเกิดเนื่องจากทวีปต่างๆ อยู่บนผิวเปลือกโลกบาง ซึ่งหุ้มห่อภายในโลกที่เป็นของเหลวร้อนเหมือนลาวาที่ไหลออกมาจากภูเขาไฟ ในขณะที่หินเหลวร้อนภายในโลกเคลื่อนไหวนั้น ก็จะดึงเอาเปลือกโลกเคลื่อนตัว ซึ่งจะทำให้ทวีปเคลื่อนที่ไปเหมือนกับมันอยู่บนสายพานขนาดยักษ์นั่นเอง
ในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ โลกค่อนข้างอบอุ่น เหมาะกับสัตว์เลี้อยคลาน
ขนาดยักษ์ จนกระทั่งปลายสมัยของยุคไดโนเสาร์ เราจะพบว่าพืชค่อยๆ เปลี่ยนเป็นพวกที่ชอบอากาศเย็นขึ้น ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า สภาพอากาศของโลกได้เปลี่ยนไปอย่างช้า ๆ และเป็นสิ่งที่ไดโนเสาร์ไม่ชอบ เราจะเริ่มพบสัตว์ที่ชอบอากาศเย็นกว่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนหนา เริ่มมีมากกว่าพวกไม่มีขน คำอธิบายนี้ก็คือ ทวีปได้เคลื่อนไปมากในช่วงเวลา 140 ล้านปี ที่ซึ่งไดโนเสาร์อยู่อาศัย และอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไป






จากทฤษฏีแรกที่บอกว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยการพุ่งชนของอุกกาบาต ในขณะที่อีกทฤษฏีหนึ่งกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อยของอากาศ ซึ่งอาจจะเป็นพันหรือเป็นล้านปีก็ได้ ในขณะนี้ความรู้ที่เราได้ไม่สามารถจะบอกได้ว่าทฤษฏีไหนจะถูกกว่ากัน ในขณะที่กลุ่มที่เชื่อทฤษฏีดาวตก มีเหตุผลว่า เขาสามารถพิสูจน์ได้ว่าไดโนเสาร์ตายไปทั้งหมดอย่างทันทีทันใด ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีการพบไดโนเสาร์อีกเลย หลังจากยุคครีเทเชียสแล้ว และยังเชื่อว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าดาวตกเป็นเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ เพราะว่าเขาพบชั้นดินที่สะสมตัวในช่วงปลายยุคครีเทเชียส มีส่วนประกอบของแร่ตัวหนึ่ง ซึ่งมีธาตุอิริเดียมอยู่มากเป็นพิเศษ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่าอิริเดียมที่มีปริมาณสูงเช่นนี้เกิดได้โดยทางเดียวเท่านั้น คือ จากอุกกาบาตที่มาจากนอกโลก ธาตุอิริเดียมน่าจะมาจากฝุ่นซึ่งเกิดจากการระเบิดของอุกกาบาตขณะที่ชนโลกเหมือนกับระเบิดขนาดมหึมาทีเดียว
แต่เหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ชอบทฤษฏีที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ต่างก็
มีความเห็นว่า ไดโนเสาร์นั้นไม่ได้สูญพันธ์ไปอย่างทันทีทันใด เช่นเดียวกับข้ออ้าง แต่ดูเหมือนว่ามันจะค่อย ๆ ลดน้อยลงในช่วงเวลาหลายล้านปี และยังแสดงลักษณะของพืชหลาย ๆ ชนิดที่ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นพืชที่ชอบอากาศเย็น นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังอ้างถึงธาตุอิริเดียมที่มีค่าผิดปกตินั้นว่า ไม่ได้มาจากการระเบิดของอุกกาบาตที่พุ่งเข้าชนโลก แต่มาจากการระเบิดของภูเขาไฟ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างมากมายในช่วงสิ้นยุคครีเทเชียส ธาตุอิริเดียมถูกกักอยู่ในหินหลอมละลายภายใต้โลก และถูกพ่นขึ้นมาในช่วงเวลาที่เกิดการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่

กำเนิดของสิ่งมีชีวิต 
     
 สิ่งมีชีวิตมีกำเนิดมาบนโลกนี้เมื่อไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นความอยากรู้ของมนุษย์มานานแล้ว ในสมัยโบราณ มีความเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตมีกำเนิดมาจากพระเจ้าสร้างขึ้น บ้างก็เชื่อว่า ชีวิตเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ แล้วเปลี่ยนแปลงมาเป็นสิ่งมีชีวิตตามทฤษฎีการเกิดเองโดยธรรมชาติ (Spontaneous theory) ซึ่งมีนักปราชญ์สมัยก่อนๆ สนับสนุนแนวคิดนี้ เช่น ทาเลส (Thales) อนาซิแมนเดอร์ (Anaximader) หรือ Aristotle เป็นต้น
ในยุคสมัยต่อมา ความรู้และวิทยากรต่าง ๆ เจริญมากขึ้น ความคิดเห็นเกี่ยวกับกำเนิดของสิ่งมีชีวิตเริ่มเปลี่ยนแปลงไปและขัดแย้งกับความคิดเดิมอยู่บ้างเช่น ฟรานเซลโก เรดิ (Francisco Redi) หลุย ปลาสเตอร์ (Louise Pasteur) ได้ทดลองโดยออกแบบและสร้างเครื่องมือขึ้นมาและได้ข้อสรุปว่าสิ่งมีชีวิตเกิดมาจากสิ่งมีชีวิตเสมอ แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบแน่ชัดว่า สิ่งมีชีวิตเริ่มแรกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

ความคิดในยุคสมัยปัจจุบัน วิทยาศาสตร์ได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น โดยเฉพาะความรู้ทางด้านชีวเคมีและอินทรีย์เคมี แนวคิดเกี่ยวกับการเกิดของสิ่งมีชีวิตจึงเปลี่ยนไปจากเดิม และพยายามพิสูจน์ให้เป็นได้ชัดเจนว่าสิ่งมีชีวิตมีกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร เช่น
ฮัลเดน (J.B.S. Haldane) 1924, มูทเนอร์ (R. Bentner) และ โอปาริน (A.I. oparin) บุคคลทั้งสามได้กล่าวทำนองเดียวกันว่า สิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นด้วยสารอินทรีย์ซึ่งต้องมีธาตุคาร์บอน ไนโทรเจน ไฮโดรเจน และออกซิเจนประกอบอยู่ ทำให้เชื่อว่า โลกในสมัยแรกระยะหนึ่งนั้นมีภาวะเหมาะสมที่ทำให้ธาตุทั้ง 4 ชนิดมาประกอบกันได้แล้วกลายเป็นสารประกอบส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ต่อมาฮาโรล ซี อูเรย์ (Harold C. Urey) และ สแทนสีย์ แอลมิลเลอร์ (Stanley Lo Miller) 1930 และ 1953 ได้พิสูจน์และทดลองให้เห็นว่าสารอินทรีย์เกิดจากสารอนินทรีย์ โดยเอาไอน้ำแอมโมเนีย มีเทนและไฮโดรเจน มารวมกันโดยใช้กระแสไฟฟ้าช่วยทำให้เกิดเป็นสารอินทรีย์ประเภทโปรตีนขึ้น

ค.ศ.1961 เมลวิน เคลวิน (Mellrin Calvin) ได้ทดลองคล้ายกับสแทนลีย์มิลเลอร์โดยผ่านรังสีแกมมาเข้าไป ปรากฎว่าได้สารประกอบหลายชนิดที่พบในสิ่งมีชีวิต จึงลงความเห็นว่าอินทรีย์สารรวมถึงสิ่งมีชีวิตอาจเกิดจาก อนินทรีย์สารได้
แนวคิดเกี่ยวกับวิวัฒนาการทางเคมี (chemical evolution) เมื่อพื้นผิวโลกเริ่มเย็นลง การรวมกลุ่มของกลุ่มก๊าซและสารต่าง ๆ รอบๆ ผิวโลก ซึ่งประกอบไปด้วยออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน คาร์บอนและธาตุหนักอื่น ๆ เช่น เหล็ก นิเกิล เงิน ซิลิกอน และอลูมิเนียมเป็นต้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการวิวัฒนาการทางเคมีของโลก เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ใช้เวลานับล้านปี สรุปเป็น 4 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 การเกิดน้ำ แอมโมเนีย และมีเทน จากการรวมกันของสารต่างๆ คือ ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และคาร์บอน
ระยะที่ 2 การเกิดน้ำตาล กลีเซอรีน กรดไขมัน กรดอมิโน ไพริมิดีนและเพียวริน
ระยะที่ 3 การเกิดแป้ง โปรตีน ลิปิดและกรดนิวคลีอิค
ระยะที่ 4 การเกิดนิวคลีโอโปรตีน
จากพื้นฐานการเกิดสารประกอบดังกล่าว ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต จึงทำให้วิวัฒนาการทางชีวภาพถือกำเนิดเป็นสิ่งมีชีวิตขึ้น ดังนี้
ระยะที่ 5 การเกิดเซลล์ระยะเริ่มแรก และบรรพบุรุษของพืชและสัตว์ ซึ่งมีสมมุติฐานที่อธิบายว่าอินทรีย์สารต่าง ๆ ซึ่งอยู่อย่างอุดมทั้งในทะเลและมหาสมุทรจะมาจับกลุ่มกัน ซึ่ง โอปาริน เรียกชื่อว่า โคอเซอเวต (C0acervate) ไดอะเซอร์เวตจะมีหน่วยโปรตีนเป็นองค์ประกอบ หน่วยโปรตีนที่ละลาน้ำจะทำให้เกิดประจุไฟฟ้า ซึ่งพร้อมที่จะดึงน้ำและอินทรีย์สารอื่น ๆ มารวมกัน ทำให้มีขนาดใหญ่และซับซ้อนขึ้นและแปรสภาพกลายเป็นชีวิตหน่วยแรกขึ้น ซึ่งต่อมาเรียกว่า เซลล์ (Cell)
ระยะที่ 6 เกิดสิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษของพืชและสัตว์
เมื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มเพิ่มปริมาณมากขึ้น ทำให้ต้องกรอาหารและเกลือแร่มากขึ้น จนอาหารและเกลือแร่ที่มีอยู่เดิมอย่างอุดมสมบูรณ์ ไม่เพียงพอต่อความต้องการ เซลล์ที่ขาดอาหารก็ตายลง ที่เหลือเป็นเซลล์ที่มีความสามารถพิเศษในการปรับตัว (adapt) และนำสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต การปรับตัวมีวิธีการต่างๆ กัน อันเป็นสาเหตุให้วิถีการดำรงชีวิตแตกต่างกัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตมาจนถึงปัจจุบั


        วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
     
          เมื่อสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกที่กำเนิดขึ้นบนโลก ซึ่งมีโครงสร้างง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไปสิ่งมีชีวิตค่อยๆ เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ไปสู่โครงสร้างที่ซับซ้อนและชนิดใหม่ ๆ ขึ้น ความคิดที่เป็นรากฐานของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตได้มีการศึกาาและกล่าวถึงโดยนักวิทยาศาสตร์หลายคน เช่นแนวคิด 2 ประการของ ลามาร์ค (Lamark, ค.ศ. 1744-1829) ได้เสนอกฎแห่งการใช้และไม่ใช้อวัยวะของสิ่งมีชีวิต (Law of use and Disuse) และกฎแห่งการถ่ายทอดลักษณะที่เกิดขึ้นใหม่ (Law of inheritance of acquired charcteristics) ซึ่งแนวคิดนี้ได้ถูกต่อต้ายโดย คูเวียร์ (Cuvier) ในปลาย ศตวรรษที่ 19 ต่อมาออกัสไวส์มาน (August Weismann) ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเยิร์มพลาสซึม (Germplasm) และลักษณะบางอย่างที่ไม่ถูกถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เกี่ยวกับเรื่องวิวัฒนาการยังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากนัก จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1859 ชาร์ล ดาร์วิน ได้พิมพ์เอกสาร “The Origin of species) ออกเผยแพร่ หลังจากนั้นความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจึงเป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยสรุปแนวคิดของดาร์วิน ดังนี้

1. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะเพิ่มจำนวนแบบความก้าวหน้าทางเรขาคณิต กว่าคือมักผลิตลุกหลานจำนวนมากเกิดกว่าที่จะมีชีวิตแพร่พันธุ์ต่อไปได้
2. สิ่งมีชีวิตต้องมีการต่อสู้เพื่อการอยู่รอด
3. สิ่งมีชีวิตทุกชนิดย่อมมีการผันแปร
4. ลักษณะที่ผันแปรถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ไปอีกหลายชั่วรุ่น ชีวิตใหม่

ตารางธรณีกาลและหลักฐานเรื่องวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
ตารางธรณีกาล (geological Time Tabale)
การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ จำเป็นต้องรู้เรื่องราวของสิ่งมีชีวิตในอดีต และสภาวะของโลกทางธรณีวิทยา เพราะจะช่วยในการทำนายอุณหภูมิ สภาพทางภูมิศาสตร์และการกระจายของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ได้ นักธรณีวิทยาจำเป็นต้อคำนวณอายุของโลก และอายุของซากดึกดำบรรพ์ โดยใช้วิธีวัดธตุกัมมันตภาพรังสีซึ่งเป็นธาตุที่จะเปลี่ยนรูปเป็นธาตุอื่นในอัตราคามเร็วเฉพาะของธาตุนั้น ๆ เช่น ยูเรียเนียม จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นตะกั่ว ในอัตราความเร็วเฉพาะคือ ยูเรียเนียม 1 กรัม เปลี่ยนเป็นยูเรเนียม 0.5 กรัมใช้เวลา 4.6 พันล้านปี (4.6x109) หรือมีครึ่งช่วิต (harf-life) เท่ากับ 4.6 พันล้านปี ฉะนั้นอัตราส่วนของยูเรเนียมกับตะกั่วที่พบในชั้นหิน จะช่วยให้สามารถคำนวณอายุของหินนั้นได้ แต่หินทุกชนิดก็ไม่ได้มีธาตุกัมมันตภาพรังสีเสมอไป ฉะนั้นในการหาอายุซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุกว่า 30,000 ปี นิยมใช้วิธีวัดจากคาร์บอนกัมตภาพรังสี (C14) ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ C14 จะถูกดูดเข้าสู่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตแม้ตายแล้วก็ยังคงอยู่ ฉะนั้นซากดึกดำบรรพ์จึงมี C14 อยู่ ซึ่งนักธรณีวิทยาสามารถวัดหาจำนวน C14 ได้ ครึ่งชีวิตของ C14 เท่ากับ 5560 ปี เมื่อคำนวณได้แล้วก็จะทราบว่าสิ่งมีชีวิตนั้นอายุอยู่ในมหายุคหรือยุคหรือสมัยใด หรือเกิดมาเมื่อกี่ล้านปีมาแล้ว

ตารางธรณีกาลกับสิ่งมีชีวิตที่กำเนิดขึ้น

อ้างอิงจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C

http://web.nrru.ac.th/web/ancient/ancient/index5_01.htm

http://web.nrru.ac.th/web/ancient/dino/dino401.htm